วันอาทิตย์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

กองทัพอากาศไทยและสหรัฐฯเสร็จสิ้นการฝึกผสม Enduring Partners 2024







Members of the U.S. Air Force and Royal Thai Air Force involved in the tactical air control party, joint terminal attack controller, and combat control team line of effort for Enduring Partners 2024, 
pose for a photo while two F-16 Fighting Falcons fly by in a close air support exercise for Enduring Partners 2024 at Chandy Range, Thailand, May 1, 2024. 
EP24 is an engagement to improve readiness and combined and joint interoperability between the RTAF and Washington Air National Guard, while concurrently aiming to enhance strong defense relations. (U.S. Air National Guard and Royal Thai Air Force photos) 









Airmen from the Royal Thai Air Force and the Washington Air National Guard participating in a subject matter expert exchange during the Enduring Partners 2024 exercise at Joint Base Lewis-McChord, Washington, May 2, 2024. 
EP24 is an engagement to improve readiness and combined and joint interoperability between the RTAF and Washington Air National Guard, while concurrently aiming to enhance strong defense relations. (Royal Thai Air Force photos)



U.S. Air Force (US) and Royal Thai Air Force (RTAF) concluded the exercise Enduring Partners 2024 at Thailand and Washington Air National Guard (ANG) in Washington state, U.S.A., during 29 April to 10 May 2024.

Enduring Partners 2024
ภาพบรรยากาศการฝึก EP24 ส่วนผู้เข้ารับการฝึก ณ ประเทศไทย

Enduring Partners 2024
ภาพบรรยากาศการฝึก EP24 ส่วนผู้เข้ารับการฝึก ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา

พิธีเปิดการฝึกผสม ENDURING PARTNERS 2024 ส่วนของผู้เข้ารับการฝึกผสม ฯ ณ ประเทศไทย
การฝึกผสม ENDURING PARTNERS 2024 เป็นการฝึกผสมระหว่างกองทัพอากาศไทย และ WASHINGTON AIR NATIONAL GUARD โดยมีการฝึกทั้งในพื้นที่ของกองทัพอากาศ ณ ประเทศไทย และ พื้นที่ของ WASHINGTON AIR NATIONAL GUARD ณ รัฐวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา 
ในห้วงเวลาเดียวกัน ระหว่าง วันจันทร์ที่ 29 เมษายน - 10 พฤษภาคม 2567 โดยมี นาวาอากาศเอก สิทธิพล  ป้อมตรี รองผู้อำนวยการสำนักยุทธการและการฝึก กรมยุทธการทหารอากาศ เป็นผู้อำนวยการกองอำนวยการฝึกผสม ENDURING PARTNERS 2024 ฝ่ายไทย 
และ Brigadier General Gent Welsh Commander, Washington Air National Guard เป็นผู้อำนวยการกองอำนวยการฝึกผสม ENDURING PARTNERS 2024 ฝ่ายสหรัฐอเมริกา 

การฝึกผสมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ เพื่อดำรงความพร้อมรบของผู้ที่เข้ารับการฝึกและพัฒนาขีดความสามารถในการปฏิบัติทางอากาศผสม รวมถึงกระชับความสัมพันธ์อันดีระหว่างมิตรประเทศที่เข้าร่วมการฝึก โดยมีแนวทางในการปฏิบัติในระหว่างการฝึกผสม ฯ ประกอบด้วย
1. การแลกเปลี่ยนผู้ชานาญการเฉพาะเรื่อง (Subject Matter Expert Exchange : SMEE)
2. การอบรมภาควิชาการ (Academics)
3. การประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop)
4. การฝึกแก้ไขปัญหาตามสถานการณ์จำลอง (Table Top Exercise : TTX)
5. การฝึกภาคสนาม (Field Training Exercise : FTX)
สำหรับการฝึกผสม ฯ แบ่งเป็นกลุ่มการฝึก ดังนี้
1. กลุ่มการฝึกด้านการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบัติ (Humanitarian Assistance and Disaster Relief : HA/DR) และการฝึกด้านการแพทย์
2. กลุ่มการฝึกชุดควบคุมการรบ (Combat Control Team : CCT)
3. กลุ่มการฝึกด้านไซเบอร์ (Cyber Exercise)
4. กลุ่มการฝึกชุดควบคุมการบินสกัดกั้น (Ground Controlled Interception : GCI)
5. กลุ่มการฝึกด้านปฏิบัติการทางอวกาศ 
6. กลุ่มผู้บังคับบัญชา (AEWG)

ซึ่งได้จัดพิธีเปิดในแต่กลุ่มการฝึก ประกอบด้วย
- พิธีเปิดการฝึกด้านการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบัติ (Humanitarian Assistance and Disaster Relief : HA/DR) และการฝึกด้านการแพทย์ ภายใต้การฝึกผสม ENDURING PARTNERS 2024 
โดยมี พลอากาศตรี อาภัสร์  เพชรผุด ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการทางการแพทย์ กรมแพทย์ทหารอากาศ และ นาวาอากาศเอก แอนดรูว์  ทอดด์ WASHINGTON AIR NATIONAL GUARD เป็นประธาน 
ณ ห้องประชุมใหญ่ ชั้น 5 ศูนย์ปฏิบัติการทางการแพทย์ กรมแพทย์ทหารอากาศ เมื่อวันจันทร์ที่ 29 เมษายน 2567
- พิธีเปิดการฝึกการักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ภายใต้การฝึกผสม ENDURING PARTNERS 2024 โดยมี นาวาอากาศเอก นิวัติ  เนียมพลอย รองผู้อำนวยการศูนย์ไซเบอร์กองทัพอากาศ และ นาวาอากาศตรี แอมมอร  เทนนี่ WASHINGTON AIR NATIONAL GUARD เป็นประธาน 
ณ ห้องประชุมศูนย์ไซเบอร์ กองทัพอากาศ เมื่อวันจันทร์ที่ 29 เมษายน 2567
- พิธีเปิดการฝึกชุดควบคุมการบินสกัดกั้น (Ground Controlled Interception : GCI) ภายใต้การฝึกผสม ENDURING PARTNERS 2024 โดยมี พลอากาศโท พิชิตไชย สุรกิจพิพัฒน์ เสนาธิการกองบัญชาการควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ
 และ นาวาอากาศตรี เบลค  แฟร์ WASHINGTON AIR NATIONAL GUARD เป็นประธาน ณ ห้องประชุมศูนย์ป้องกันทางอากาศ กองบัญชาการควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ เมื่อวันจันทร์ที่ 29 เมษายน 2567

การฝึกผสม Enduring Partners 2024 ระหว่างกองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force) และกองทัพอากาศสหรัฐฯ(USAF: US Air Force) ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒๙ เมษายน-๑๐ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๗(2024) ที่ผ่านมานั้นเป็นการฝึกครั้งที่สองแล้ว
หลังจากมีการจัดการฝึกผสม Enduring Partners 2023 ระหว่างวันที่ ๑๑-๒๑ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๖(2023) เป็นครั้งแรก(https://aagth1.blogspot.com/2023/09/enduring-partners-2023.html, https://aagth1.blogspot.com/2023/09/enduring-partners-engagement-2023.html

การฝึกผสม Enduring Partners 2024 ในปีนี้ได้จัดการฝึกพร้อมกันในพื้นที่ของกองทัพอากาศไทยในประเทศไทย และพื้นที่ของกองกำลังรักษาดินแดนทางอากาศ(ANG: Air National Guard) Washington ในรัฐ Washington สหรัฐฯ ซึ่งแต่ละไทยได้ส่งกำลังผลไปสหรัฐฯ และสหรัฐฯมายังไทย
อย่างไรก็ตามการฝึกในปีนี้ได้มุ่งเน้นไปที่ปฏิบัติการภาคพื้นดินเป็นหลัก ในส่วนการรบจะมีเฉพาะชุดควบคุมทางอากาศยุทธวิธี Tactical Air Control Party(TACP) ชุดควบคุมการโจมตีขั้นสุดท้าย Joint Terminal Attack Controller(JTAC) ชุดควบคุมการรบ Combat Control Team(CCT) 

ชุดควบคุมการบินสกัดกั้น Ground Controlled Interception(GCI) และการปฏิบัติการอื่นๆ รวมถึง การให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบัติ(HADR: Humanitarian Assistance and Disaster Relief) การฝึกด้านการแพทย์ การฝึกด้าน Cyber  และการฝึกด้านอวกาศ เป็นต้น
โดยสหรัฐฯไม่ได้นำอากาศยานรบทางอากาศหลักเข้าร่วมการฝึกนอกจากเครื่องบินลำเลียงและเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ KC-135R ของ Washington ANG ส่วนของกองทัพอากาศไทยจะมีเครื่องบินลำเลียง บ.ล.๘ C-130H ฝูงบิน๖๐๑ กองบิน๖ เฮลิคอปเตอร์ ฮ.๑๑ EC725(H225M) ฝูงบิน๒๐๓ กองบิน๒ และเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙/ก F-16AM/BM ฝูงบิน๔๐๓ กองบิน๔ เป็นต้นครับ

วันเสาร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

เครื่องบินขับไล่ F-35A เยอรมนีจะถูกสร้างที่ Fort Worth สหรัฐฯมากกว่าในอิตาลี

Germany opts for US rather than European F-35 assembly





Germany's 35 F-35As will be built at the Fort Worth facility in the US (pictured) rather than at the Cameri site in Italy. (Lockheed Martin)

รัฐบาลเยอรมนีในนครหลวง Berlin ได้ตัดสินใจว่าเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-35A Lightning II Joint Strike Fighter(JSF) ที่ได้ลงนามสัญญาสำหรับกองทัพอากาศเยอรมนี(Luftwaffe)
จะถูกสร้างที่โรงงานประกอบและตรวจสอบขั้นสุดท้าย(FACO: Final Assembly and Check-Out) ใน Fort Worth มลรัฐ Texas สหรัฐฯ มากกว่าจะเป็นที่โรงงาน FACO ของยุโรปใน Cameri อิตาลี

"ปัจจุบัน การประกอบและตรวจสอบขั้นสุดท้ายของเครื่องบินขับไล่ F-35A ของเยอรมนีถูกวางแผนที่จะมีขึ้นที่โรงงานอากาศ Fort Worth โดยการใช้ส่วนประกอบหลักต่างๆจากทั่วทั้งยุโรป
รวมถึงเยอรมนี(https://aagth1.blogspot.com/2023/02/rheinmetall-f-35.html), สหราชอาณาจักร(https://aagth1.blogspot.com/2023/02/f-35-1000.html) และอิตาลี" Janes ได้รับการบอกจากบริษัท Lockheed Martin สหรัฐฯ

กองทัพอากาศเยอรมนีกำลังจะได้รับมอบเครื่องบินขับไล่ F-35A จำนวน 35เครื่อง โดยการส่งมอบจะเริ่มต้นดำเนินการในสหรัฐฯในปี 2026 และ F-35A เครื่องแรกจะมาถึงเยอรมนีในปี 2027
บริษัท Lockheed Martin ไม่ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับการตัดสินใจของเยอรมนีที่จะดำเนินการผลิตในสหรัฐฯแทนที่จะเป็นในยุโรบ ขณะที่กองทัพเยอรมนี(Bundeswehr) ได้อ้างอิงข้อมูลจากผู้ผลิตสำหรับความเห็นต่อ Janes

โดยที่อิตาลี, เนเธอร์แลนด์ และสวิตเซอร์แลนด์(https://aagth1.blogspot.com/2024/02/f-35-lightning-ii.html) ก่อนหน้านี้มีความมุ่งมั่นที่จะได้รับทั้งหมดหรือบางส่วนของฝูงบินเครื่องขับไล่ F-35A ที่สร้างใน  Cameri อิตาลี
ล่าสุดรัฐบาลสหรัฐฯได้ตัดสินใจที่จะเปิดโรงงานอากาศยานในยุโรปให้ลูกค้ารายอื่นๆในต่างทวีปที่อาจจะต้องการใช้งานโรงงานในการผลิตเครื่องบินขับไล่ F-35 ของตน

บริษัท Lockheed Martin สหรัฐฯ และบริษัท Northrop Grumman สหรัฐฯได้ลงนามจดหมายแสดงความจำนง(LOI: Letter of Intent) กับบริษัท Rheinmetall AG เยอรมนีในปี 2023
สำหรับการจัดตั้งสายการประกอบบูรณาการ(IAL: Integrated Assembly Line) แห่งที่สองเพื่อการผลิตชิ้นส่วนโครงสร้างลำตัวส่วนกลางของเครื่องบินขับไล่ F-35 ในเยอรมนี

ก่อนหน้านี้ในปลายเดือนเมษายน 2024 Lockheed Martin สหรัฐฯประกาศว่า เครื่องบินขับไล่ F-35A สำหรับโปแลนด์ได้รับการติดตั้งและตั้งวางพื้นบนฐานล้อของตนเอง ณ สายการประกอบในโรงงานอากาศยาน Fort Worth แล้ว
โปแลนด์ได้ลงนามสัญญากับรัฐบาลสหรัฐฯสำหรับเครื่องบินขับไล่ F-35A จำนวน 32เครื่องในเดือนมกราคม 2020 โดยการส่งมอบจะดำเนินการตั้งแต่ปี 2024-2030 ครับ(https://aagth1.blogspot.com/2024/05/f-35a-husarz.html

วันศุกร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

Rafale ฝรั่งเศส Typhoon อังกฤษ และ F-15EX สหรัฐฯจะแข่งขันในโครงการเครื่องบินขับไล่ใหม่ของซาอุดีอาระเบีย

France, UK, US to compete Saudi fighter requirement







Having previously signalled its intent to acquire 48 new Eurofighter Typhoons in addition to the 72 already received (pictured), Saudi Arabia is now looking at the Boeing F-15EX Eagle II and the Dassault Rafale for its future requirements also. (Saudi Press Agency)

ฝรั่งเศส, สหราชอาณาจักร และสหรัฐฯกำลังจะแข่งขันในความต้องการเครื่องบินขับไล่ใหม่ที่ยังรอการดำเนินการมานานอยู่ของซาอุดีอาระเบีย โดยซาอุดีอาระเบียได้จัดการแข่งขันแบบเต็มรูปแบบและเปิดเผยเช่นนี้เป็นครั้งแรก
เจ้าหน้าที่อาวุโสในภาคอุตสาหกรรมที่มีองค์ความรู้ในความต้องการโครงการกล่าวกับ Janes และสื่อกลาโหมอื่นในปลายเดือนเมษายน 2024 ของการตัดสินใจของรัฐบาลซาอุดีอาระเบียใน Riyadh

ที่จะจัดการแข่งขันระหว่างเครื่องบินขับไล่ Dassault Rafale ฝรั่งเศส, เครื่องบินขับไล่ Boeing F-15EX Eagle II สหรัฐฯ และเครื่องบินขับไล่ Eurofighter Typhoon สหราชอาณาจักรตามลำดับ
เมื่อก่อนหน้านั้น การพิจารณาทางการเมืองระหว่างประเทศจะเป็นจะเป็นส่วนบนสุดในการตัดสินใจของซาอุดีอาระเบียสำหรับยุทโธปกรณ์ทางทหารระดับสูงดังกล่าว(https://aagth1.blogspot.com/2024/01/eurofighter-typhoon.html)

กองทัพอากาศซาอุดีอาระเบีย(RSAF: Royal Saudi Air Force) มีความต้องการที่โดดเด่นของเครื่องบินขับไล่ใหม่จำนวนราว 50เครื่องเพื่อเสริมต่อเครื่องบินขับไล่ Boeing F-15SA Advanced Eagle จำนวน 83เครื่อง, เครื่องบินขับไล่ F-15S Eagle จำนวน 63เครื่อง, 
เครื่องบินขับไล่ F-15C Eagle จำนวน 66เครื่อง, เครื่องบินขับไล่ F-15D Eagle จำนวน 20เครื่อง, เครื่องบินขับไล่ Eurofighter Typhoon จำนวน 72เครื่อง และเครื่องบินขับไล่โจมตี Panavia Tornado จำนวน 79เครื่องที่ตนประจำการในปัจจุบัน

บริษัท Boeing Middle East สหรัฐฯสาขาตะวันออกกลางกล่าวจากบัญชี X(Twitter เดิม) ทางการของตนเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2024 ว่าทูตสหรัฐฯประจำราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย H E Michael Ratney
ได้มีประสบการณ์ในเครื่องจำลองการบิน F-15EX simulator ของตนระหว่างการฉลองวันชาติสหรัฐฯที่จัดขึ้นในสถานทูตสหรัฐฯในกรุง Riyadh(https://aagth1.blogspot.com/2023/12/f-15ex-eagle-ii-2.html)

สื่อฝรั่งเศสรายงานในปลายปี 2023 ว่ารัฐบาลฝรั่งเศสในนครหลวง Paris ได้เจรจาการจัดซื้อจัดจ้างของเครื่องบินขับไล่ Rafale จำนวน 54เครื่องกับซาอุดีอาระเบีย(https://aagth1.blogspot.com/2024/04/rafale-6-12.html, https://aagth1.blogspot.com/2024/04/rafale-12.html)
ขณะที่รัฐบาลสหราชอาณาจักรได้ใช้เวลาหลายปีก่อนหน้าที่มองจะบรรลุผลการจัดซื้อเครื่องบินขับไล่ Eurofighter Typhoon ชุดที่สองของซาอุดีอาระเบีย หลังเครื่องชุดแรกจำนวน 72เครื่องได้เสร็จสิ้นการส่งมอบในปี 2017

ซาอุดีอาระเบียได้สั่งจัดหาเครื่องบินขับไล่ Eurofighter Typhoon จำนวน 72เครื่องในปี 2007 และมีมูลค่าที่วงเงิน 20 billion British pound sterling($41 billion ตามค่าเงินในขณะนั้น) โดยเป็นหนึ่งในการจัดซื้อจัดจ้างทางกลาโหมที่มีขนาดโครงการใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีการลงนามมา
สหราชอาณาจักรเป็นผู้นำหุ้นส่วนกลุ่มกิจการค้าร่วม Eurofighter ของบริษัท Airbus ยุโรป(สาขาเยอรมนีและสเปน), บริษัท BAE Systems สหราชอาณาจักร, และบริษัท Leonardo อิตาลี สำหรับการขายเครื่องบินขับไล่ Eurofighter Typhoon แก่ซาอุดีอาระเบียครับ

วันพฤหัสบดีที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

อู่เรือ LUNAS มาเลเซียลงนาม MOU กับ PT PAL อินโดนีเซีย

DSA 2024: LUNAS signs shipbuilding MOU with PT PAL
PT PAL Multi-Role Support Ship model on display at DSA 2024. (Xavier Vavasseur)

Naval Group Littoral Combat Ship model on display at DSA 2024. (Xavier Vavasseur)




LUNAS was formerly known as Boustead Naval Shipyard. (Royal Malaysian Navy)

อู่เรือบริษัท Lumut Naval Shipyard Sdn Bhd(LUNAS) มาเลเซียได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ(MOU: Memorandum of Understanding) กับ PT PAL รัฐวิสาหกิจผู้สร้างเรือของอินโดนีเซีย
ณ งานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์นานาชาติ Defence Services Asia (DSA) 2024 ที่จัดขึ้นในมหานคร Kuala Lumpur มาเลเซียระหว่างวันที่ 6-9 พฤษภาคม 2024

บันทึกความเข้าใจ MOU มองที่จะ "สำรวจความร่วมมือต่างๆในอนาคตในโครงการการสร้างเรือต่างๆ, ส่งเสริมการแบ่งปันองค์ความรู้และความก้าวหน้าทางวิทยาการในภูมิภาค ผ่านความร่วมมือนี้ อู่เรือ LUNAS มุ่งเป้าที่จะนำความเชี่ยวชาญของตนมาใช้
เพื่อส่งเสริมการสร้างเรือใหม่ๆ เช่นเดียวกับการเพิ่มขยายขีดความสามารถการซ่อมทำและปรับปรุงความทันสมัยของกองเรือที่มีอยู่" Azhar Jumaat ผู้อำนวยการบริหารของ LUNAS มาเลเซีย กล่าวในคำปราศรัยต้อนรับ ณ งานแสดง DSA 2024

อู่เรือ LUNAS มาเลเซียเดิมรู้จักในชื่ออู่เรือบริษัท Boustead Naval Shipyard(BNS) มาเลเซีย และได้รับสัญญาสำหรับโครงการสร้างเรือฟริเกต Littoral Combat Ship(LCS) หรือเรือฟริเกตชั้น Maharaja Lela จำนวน 5ลำ
สำหรับกองทัพเรือมาเลเซีย(RMN: Royal Malaysian Navy, TLDM: Tentera Laut Diraja Malaysia)(https://aagth1.blogspot.com/2024/01/maharaja-lela-lcs-2026.html)

ในงานแสดง DSA 2024 หัวหน้าฝ่ายยุทธศาสตร์และการพัฒนาองค์กรของ LUNAS มาเลเซีย Hanif Muhammad กล่าวกับ Janes ว่าเรือฟริเกต LCS ลำแรกเรือฟริเกต KD Maharaja Lela ได้สร้างเสร็จไปแล้วร้อยละ75
เป็นที่คาดว่าเรือฟริเกต KD Maharaja Lela จะถูกนำลงสู่น้ำสำหรับการทดลองเรือในทะเลได้ในกลางปี 2024 นี้เขาเสริม(https://aagth1.blogspot.com/2023/10/maharaja-lela-lcs.html)

การขึ้นระวางประจำการของเรือฟริเกต KD Maharaja Lela คาดว่าจะเป็นในปี 2026 โดยเรือที่เหลือลำที่สองเรือฟริเกต KD Sharif Mashor, ลำที่สามเรือฟริเกต KD Raja Mahadi, เรือลำที่สี่เรือฟริเกต KD Mat Salleh
จะถูกส่งมอบตามมาในช่วงระยะห่างลำละ 8เดือน โดยเรือลำที่ห้าและลำสุดท้ายเรือฟริเกต KD Tok Janggut คาดว่าจะถูกส่งมอบได้ภายในปี 2029

Boustead Naval Shipyard มาเลเซียและ PT PAL อินโดนีเซียได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ MOU ในปี 2016 ที่จะมีความร่วมมือในการสร้างเรือสนับสนุนอเนกประสงค์ MRSS(Multirole Support Ship) ในอินโดนีเซียถ้าเรือได้ถูกเลือกสำหรับสัญญา
ทว่ายังไม่มีความคืบหน้าเกี่ยวกับโครงการเรือสนับสนุนอเนกประสงค์ MRSS จนถึงขณะนี้ครับ(https://aagth1.blogspot.com/2020/07/pt-pal-mrss.html, https://aagth1.blogspot.com/2016/11/x18-mrss.html)

วันพุธที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

สหรัฐฯอนุมัติการขายกระเปาะชี้เป้าหมาย Sniper ATP แก่มาเลเซีย

US approves possible Sniper targeting pod sale to Malaysia



The Royal Malaysian Air Force's Boeing F/A-18D Hornet with Raytheon AN/ASQ-228 Advanced Targeting Forward-Looking Infrared (ATFLIR) pod. (Royal Malaysian Air Force/Syairazie Sabiyar)

It is possible that Malaysia will acquire the latest version of the Lockheed Martin AN/AAQ-33 Sniper airborne targeting pod, with the capability improvements as detailed in this 2021 Lockheed Martin infographic. (Lockheed Martin)

กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯได้อนุมัติความเป็นไปได้ในการขายกระเปาะชี้เป้าหมาย Lockheed Martin AN/AAQ-33 Sniper Advanced Targeting Pod(ATP)
สำหรับฝูงบินเครื่องบินขับไล่ Boeing F/A-18D Hornet ของกองทัพอากาศมาเลเซีย(RMAF: Royal Malaysian Air Force, TUDM: Tentera Udara Diraja Malaysia)

สำนักงานความร่วมมือความมั่นคงกลาโหมสหรัฐฯ(DSCA: Defense Security Cooperation Agency) ประกาศเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2024 ว่ากระเปาะชี้เป้าหมายทางอากาศ AN/AAQ-33 Sniper ATP จำนวน 10ระบบได้รับการอนุมัติการขายแล้ว
ตามการร้องขอจากรัฐบาลมาเลเซีย ชุดข้อเสนอการขายซึ่งรวมถึงข้อมูลทางเทคนิคและสิ่งพิมพ์, การฝึกกำลังพล, ชุดคำสั่งและอุปกรณ์การฝึก และองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องของการส่งกำลังบำรุงและการสนับสนุนโครงการ มีมูลค่าที่วงเงินประมาณ $80 million

"ข้อเสนอการขายจะเพิ่มพูนขีดความสามารถของมาเลเซียที่จะตรงต่อภัยคุกคามต่างๆในปัจจุบันและอนาคตโดยการปรับปรุงความทันสมัยระบบเครื่องบินขับไล่ F/A-18D ปัจจุบันของตนด้วยกระเปาะชี้เป้าหมายร่วมกัน
ข้อเสนอการขายนี้จะยังแบ่งเบาข้อกังวลความล้าสมัยในอนาคตและทำให้กองทัพอากาศมาเลเซียจะตรงความต้องการการปฏิบัติการในอนาคต มาเลเซียจะไม่มีความยุ่งยากในการนำสิ่งอุปกรณ์นี้มาใช้ในกองทัพของตน" DSCA สหรัฐฯกล่าว

ตามข้อมูลจากรายการยุทโธปกรณ์ของ Janes กองทัพอากาศมาเลเซียมีประจำการด้วยเครื่องบินขับไล่ F/A-18D Hornet จำนวน 8เครื่อง ที่เข้าประจำการในฝูงบินที่18(18 Squadron) ตั้งแต่ปี 1997
ร่วมไปกับเครื่องบินขับไล่ Sukhoi Su-30MKM จำนวน 18เครื่องในฝูงบินที่12(12 Squadron) จากรัสเซีย(https://aagth1.blogspot.com/2019/11/blog-post_29.html) เครื่องบินขับไล่ F/A-18D Hornet ประกอบเป็นระบบการรบทางอากาศหลักของกองทัพอากาศมาเลเซีย

การติดตั้งเครื่องบินขับไล่ F/A-18D Hornet ด้วยกระเปาะชี้เป้าหมาย Sniper ATP แทบจะแน่นอนว่าได้มอบการเพิ่มขยายขีดความสามารถเป็นอย่างมากแก่กองทัพอากาศมาเลเซีย ตามข้อมูลจากบริษัท Lockheed Martin สหรัฐ 
กระเปาะชี้เป้าหมาย AN/AAQ-33 สนับสนุน "การชี้เป้าหมายที่แม่นยำและภารกิจข่าวกรอง, ตรวจการณ์ และลาดตระเวนที่ไม่ตามแบบแผนดั้งเดิมในสภาพแวดล้อมอากาศสู่พื้น, ทางทะเล และอากาศสู่อากาศ"

กระเปาะชี้เป้าหมาย AN/AAQ-33 Sniper ATP จะทำให้กำลังพลนักบินที่จะระบุและทำลายเป้าหมายได้ที่นอกระยะของภัยคุกคาม ตามข้อมูลจากบริษัท Lockheed Martin
ปัจจุบันเครื่องบินขับไล่ F/A-18D Hornet ของกองทัพอากาศมาเลเซียติดตั้งด้วยกระเปาะชี้เป้าหมาย AN/ASQ-228 Advanced Targeting Forward-Looking Infrared(ATFLIR) ครับ

วันอังคารที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

เกาหลีใต้วางแผนการลงทุนพัฒนาเครื่องบินขับไล่โจมตี FA-50 รุ่นที่นั่งเดี่ยว

South Korean ministry plans single-seat FA-50 investment





The single-seat KAI FA-50 project intends to replace the aircraft's second cockpit and crewperson with an additional fuel tank to increase the type's combat radius. (KAI)

กระทรวงการค้า, อุตสาหกรรม และพลังงาน(MOTIE: Ministry of Trade, Industry and Energy) สาธารณรัฐเกาหลีได้ประกาศแผนที่จะลงทุนการพัฒนารุ่นที่นั่งเดี่ยวของ
เครื่องบินฝึกและโจมตีเบา Korea Aerospace Industries(KAI) FA-50(https://aagth1.blogspot.com/2024/04/kai-t-50th.html, https://aagth1.blogspot.com/2024/04/kai-fa-50.html)

กระทรวงการค้า, อุตสาหกรรม และพลังงานสาธารณรัฐเกาหลีกล่าวเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2024 ว่าวงเงิน 49.4 billion Korean Won($36.39 million) จะถูกลงทุนให้กับบริษัท Korea Aerospace Industries(KAI) สาธารณรัฐเกาหลี
เพื่อจะพัฒนาเครื่องบินขับไล่โจมตี FA-50 รุ่นที่นั่งเดี่ยว "โครงการมุ่งเป้าที่จะเพิ่มพูนขีดความสาามารถของ FA-50 เพื่อจะแข่งขันในตลาดนานาชาติและขยาย "ผลงานการส่งออก" แห่งชาติ" ตามข้อมูลจากกระทรวงการค้า, อุตสาหกรรม และพลังงานสาธารณรัฐเกาหลี

"โครงการพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์ที่จะดัดแปลงโครงสร้างอากาศยานที่นั่งเดี่ยว และรวมระบบเชื้อเพลิงเสริมเพื่อเพิ่มขยายรัศมีการปฏิบัติการขึ้นอีกร้อยละ30" กระทรวงการค้า, อุตสาหกรรม และพลังงานสาธารณรัฐเกาหลีกล่าว
Janes ก่อนหน้านี้ได้รายงานว่าแผนของบริษัท KAI สาธารณรัฐเกาหลีที่จะพัฒนารุ่นที่นั่งเดี่ยวโดยการนำนักบินที่สองและห้องนักบินหลังออกไปและติดตั้งระบบเชื้อเพลิงสำรองขนาด 300gal แทนในพื้นที่นั้น

ในเดือนกุมภาพันธ์ 2023 ระหว่างงานแสดงการบินนานาชาติ Singapore Airshow 2023 ที่สิงคโปร์ โฆษกบริษัท KAI กล่าวกับ Janes ว่าระยะการปฏิบัติการของเครื่องบินขับไล่โจมตี FA-50 รุ่นที่นั่งเดี่ยว
เป็นไปได้ที่จะเพิ่มขึ้นได้มากถึงร้อยละ20 ตามผลลัพธ์ Janes เข้าใจว่า KAI สาธารณรัฐเกาหลีกำลังดำเนินการทดสอบและตัดสินใจว่าระยะการปฏิบัติการสามารถเพิ่มขยายขึ้นได้อย่างไร

รัศมีของการปฏิบัติการปัจจุบันของเครื่องบินขับไล่โจมตี FA-50 คือ 239nmi ในรูปแบบการบินดำเนินกลยุทธ์เพดานบินสูง-ต่ำ-ต่ำ-สูง hi-lo-lo-hi(https://aagth1.blogspot.com/2024/01/ta-50-block-2.html)
กระทรวงการค้า, อุตสาหกรรม และพลังงานสาธารณรัฐเกาหลียังมองการรวมระบบหลีกเลี่ยงการบินชนพื้นอัตโนมัติ(Automatic GCAS: Ground Collision Avoidance System) ที่พัฒนาในประเทศเข้ากับ FA-50 ด้วย

รัฐบาลสาธารณรัฐเกาหลีจะลงทุนวงเงิน 29 billion Korean Won ในโครงการตั้งแต่ปี 2024-2028 กระทรวงการค้า, อุตสาหกรรม และพลังงานสาธารณรัฐเกาหลีกล่าว
เสริมว่า KAI สาธารณรัฐเกาหลีและประเทศหุ้นส่วนอื่นๆจะสมทบทุนในส่วนที่เหลือครับ(https://aagth1.blogspot.com/2023/12/dapa.html, https://aagth1.blogspot.com/2023/12/taurus-lig-nex1-kepd-350k-2-fa-50.html)

วันจันทร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

เครื่องบินทิ้งระเบิด H-6K จีนทำการยิงขีปนาวุธอากาศสู่พื้น KD-21 ใหม่

Chinese bomber launches new ballistic missile




China first unveiled the new ALBM in November 2022, during AirShow China 2022. At the time, the two missiles unveiled had a yellow stripe and a code signifying that they were training missiles (as shown in the image, in the top part of this graphic). Recent imagery shows the ALBM in a low-observable grey-blue colour scheme, indicating that the missile is progressing to production. (Janes/Gettyimages)

กองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน(PLA: People's Liberation Army) ได้เผยแพร่วีดิทัศน์ที่กำลังแสดงภาพเครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ Xi'an H-6K ทำการยิงขีปนาวุธอากาศสู่พื้นแบบใหม่ขณะทำการบิน
ภาพเคลื่อนไหวของขีปนาวุธอากาศสู่พื้น(ALBM: Air-Launched Ballistic Missile) ได้ถูกทิ้งจากเครื่องบินทิ้งระเบิด H-6K ได้ถูกรวมในวีดิทัศน์ทางการของกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีนที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2024

ในวีดิทัศน์ขีปนาวุธอากาศสู่พื้นใหม่ได้ถูกทิ้งจากตำบลอาวุธด้านปีกซ้ายของเครื่องบินทิ้งระเบิด H-6K อาวุธปล่อนำวิถีซึ่งได้ถูกกำหนดแบบชั่วคราวว่าขีปนาวุธอากาศสู่พื้น KD-21 ไม่ได้แสดงติดเครื่องยนต์ของจรวด
ขีปนาวุธอากาศสู่พื้น KD-21 ใหม่เป็นไปได้ว่าจะเป็นอาวุธปล่อยนำวิถีความเร็วเหนือเสียงสูงมาก hypersonic เช่นเดียวกับอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นความเร็วเหนือเสียงสูงมาก hypersonic แบบ Kh-47M2 Kinzhal(NATO กำหนดรหัส AS-24 'Killjoy') รัสเซีย

Janes ก่อนหน้านี้ได้ประเมินว่าขีปนาวุธอากาศสู่พื้น KD-21 ALBM น่าจะใช้กำลังขับเคลื่อนโดยเครื่องยนต์จรวดเชื้อเพลิงแข็ง อย่างไรก็ตามไม่เป็นที่ชัดเจนว่า KD-21 ในวีดิทัศน์ล่าสุดได้ติดตั้งเครื่องยนต์หรือไม่
ขีปนาวุธอากาศสู่พื้น KD-21 ALBM ถูกเปิดตัวต่อสาธารณะครั้งแรก ณ งานแสดงการบินและอาวุธยุทโธปกรณ์ Airshow China 2022 ใน Zhuhai จีนระหว่างวันที่ 8-13 พฤศจิกายน 2022(https://aagth1.blogspot.com/2022/11/h-6k.html)

ณ เวลานั้นขีปนาวุธอากาศสู่พื้น KD-21 สองนัด(ติดตั้งในตำบลอาวุธใต้ปีกของเครื่องบินทิ้งระเบิด H-6K) ได้ถูกทำเครื่องหมายด้วยรหัส 2PZD-21 ซึ่งย่อมาจาก Pèi zhòng dǎodàn(配重导弹: counterweight missile, อาวุธปล่อยนำวิถีถ่วงน้ำหนัก) นี่บ่งชี้ว่านั้นไม่ใช่ลูกยิงจริง 
อย่างไรก็ตามในวีดิทัศน์ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2024 การทำเครื่องหมายแถบสีและรหัสที่เห็นบนขีปนาวุธอากาศสู่พื้น KD-21 ณ งานแสดงการบิน AirShow China 2022 ดูเหมือนจะหายไป

ขีปนาวุธอากาศสู่พื้น KD-21 ALBM ในวีดิทัศน์ล่าสุดถูกทำสีที่ใช้ในการปฏิบัติการลวดลายสีเทา-น้ำเงิน โดยหัวจรวดทำสีเทาอ่อน Janes ประเมินว่านี่เพื่อทำให้จรวดถูกตรวจพบเห็นได้ต่ำ
การนำแถบสีเหลืองที่แสดงว่าเป็นอาวุธปล่อยนำวิถีสำหรับการฝึกออกไปจากที่เห็นในวิดีทัศน์ล่าสุด บ่งชี้ว่าขีปนาวุธอากาศสู่พื้น KD-21 กำลังดำเนินการสู่ขั้นระยะการผลิต

Janes ประเมินว่าขีปนาวุธอากาศสู่พื้น KD-21 ALBM ใหม่มีความยาวประมาณ 8.5m มีเส้นผ่าศูนย์กลางที่ประมาณ 82-85cm และมีน้ำหนักที่ประมาณ 2tons ตามข้อมูลจาก Janes All the World's Aircraft: Development & Production
เครื่องบินทิ้งระเบิด H-6K ติดตั้งเครื่องยนต์ Turbofan แบบ Soloviev D-30-KP2 รัสเซียสองเครื่อง ทำความเร็วได้สูงสุดราว 566knots, รัศมีการรบ 1,900nmi เมื่อบรรทุกเต็มอัตรา และบรรทุกอาวุธได้ที่น้ำหนักราว 12tons ครับ